การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยสัตว์เศรษฐกิจ
 มูลค่าเพิ่มของเนื้อโคนมเพศเมียคัดทิ้งขุน โดยการเพิ่มความน่ารับประทาน ด้วยการฉีดสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (Value Added of Finishing Spent Cow by Enhancing Palatability of Beef with CaCl3 Injection)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ. ดร. สัญชัย จตุรสิทธา (Sanchai Jaturasitha ) ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
     2. รศ. ดร. เทอดชัย เวียรศิลป์ (Supamit Mekchay ) ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
     3. อ.ดร. เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ (Saowaluck Yammuen-art ) ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

  หลักการเหตุผล
         ในอดีตรูปแบบในการผลิตเนื้อโคในประเทศไทยที่ผ่านมา เป็นการใช้โคปลดจากการทำงานที่อายุมากแล้วมาทำการชำแหละ โดยที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเนื้อเลย ซึ่งเนื้อที่ได้จะมีความเหนียวมาก เมื่อนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เนื้อโคส่วนมากนั้นจะไม่ได้รับการจัดเกรดหรือผ่านการบ่ม (Aging) ตลอดจนการควบคุมด้านสุขศาสตร์ (ศิริ, 2542) แต่ในปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจในการรับประทานเนื้อโคคุณภาพดีมากขึ้น แต่การผลิตเนื้อโคคุณภาพดีไม่เพียงพอ จึงมีการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ โดยมีรายงานจากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าเนื้อแช่แข็งจากประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย แต่ละปีมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท และ นำเข้าเนื้อโคแปรรูปอีกประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณเนื้อโคที่ไทยส่งออกในรูปของแปรรูปได้เพียง 30 ล้านบาทเท่านั้น นับเป็นการเสียเปรียบทางด้านดุลการค้าอย่างมาก ดังนั้นจึงเริ่มมีการปรับปรุงคุณภาพของเนื้อโคที่จะนำมาใช้บริโภคภายในประเทศให้มีคุณภาพดีขึ้นทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในวงที่จำกัดเนื่องจากยังมีผู้ประกอบการที่สามารถผลิตเนื้อโคที่มีคุณภาพเทียบเท่าเนื้อโคจากต่างประเทศน้อยราย ประกอบกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพเนื้อนั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก
         จากข้อมูลการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยพบว่าจำนวนโคนมในประเทศไทยมีประมาณ 500,000 ตัว และจะมีจำนวนโคปลดระวาง ประมาณ 45,000 ตัวต่อปี ซึ่งการขายแม่โคปลดระวางจะถูกกดราคา โดยพ่อค้าจะรับซื้อแม่โคปลดระวางในราคาต่ำประมาณกิโลกรัมละ 20-30 บาท เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับราคาของโคเนื้อที่จะมีราคาอยู่ประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาทแล้ว ทำให้เกษตรกรจะต้องสูญเสียรายได้อย่างมาก
         ดังนั้นการศึกษาทดลองการปรับปรุงคุณภาพของเนื้อโคนมคัดทิ้งเพศเมียเพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อโดยการฉีดสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ให้ซาก หลังจากขุนระยะสั้นด้วยอาหารพลังงานสูงประมาณ 80 วัน น่าจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรและยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้โคนมคัดทิ้งเพศเมียแก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไส้กรอกจากเนื้อดังกล่าวด้วย

  วัตถุประสงค์
    5.1 ทราบถึงผลของชนิดการเสริมอาหารพลังงานสูงแก่แม่โคนมคัดทิ้งที่ให้ ประสิทธิภาพเจริญเติบโต คุณภาพซาก และเนื้อดีที่สุด รวมทั้งต้นทุนการเลี้ยง
    5.2 ศึกษาผลของการฉีดสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ ต่อ ความน่ารับประทานของเนื้อโค และค่าแรงตัดผ่านเนื้อโค
    5.3 เพื่อเพิ่มมูลค่าของแม่โคนมคัดทิ้งและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
    5.4 เป็นทางเลือกในการผลิตเนื้อโค เพื่อทดแทนการนำเข้า


  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 -
1

2
-

 1
1

 3
2
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

1
-
-

-
-
-

1
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

-
1
-

-
1
-

-
1
-

-
1
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-



-
1
-



-
1
-



-
2
 -

5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
          5.1 ทำให้ได้เนื้อโคคุณภาพดีมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
         5.2 พัฒนากระบวนการผลิตเนื้อโคที่ให้คุณภาพดี
         5.3 เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรที่ไม่ต้องขายโคนมคัดทิ้งเพศเมียทันที
         5.4 สามารถประยุกต์ใช้การผลิตเนื้อโคทั่วไป


    อบรม
อบรม
10 ล้านบาท
อบรม

อบรม
อบรม
10 ล้านบาท
อบรม



 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th