การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยสัตว์เศรษฐกิจ
 การประยุกต์ใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อการผลิตน้ำเชื้อคัดเพศสำหรับโคขาวลำพูน (Application of Monoclonal Antibody for Producing Sexed Semen for White Lamphun Cattle)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ. เพทาย พงษ์เพียจันทร์ (Petai Pongpiachan ) ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
     2. ผศ.ดร. ศุภมิตร เมฆฉาย (Supamit Mekchay ) ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

  หลักการเหตุผล
         โอกาสในการเกิดเพศของโคนั้นขึ้นกับสเปิร์มที่มีโครโมโซมเอ็กซ์ (X) และสเปิร์มที่มีโครโมโซมวาย (Y) ในสภาพตามธรรมชาติสัดส่วนของการเกิดเพศผู้ : เพศเมียเป็น 1:1 ดังนั้นโอกาสที่จะได้ลูกโคเพศเมียก็จะมีเพียง 50 % ทำให้เกษตรกรที่ต้องการเพิ่มแม่พันธุ์ภายในฟาร์มทำได้อย่างจำกัด กรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้เป็นการลดสัดส่วนของสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายด้วยกระบวนการปฏิกิริยาไซโตทอกซิค (Cytotoxic) ที่เกิดภายใต้เงื่อนไขการมีโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibody) ต่อแอนติเจน (Antigen) บนผนังเซลล์ของสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายร่วมกับสเปิร์มและโปรตีนคอมพลีเมนต์ (Complement) ซึ่งศึกษาในห้องปฏิบัติการ ผู้วิจัยและคณะมีข้อมูลจากการศึกษาในโคนมเบื้องต้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มสัดส่วนการเกิดลูกโคเพศเมียเป็น 80 % ถ้านำเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในโคเนื้อ โดยคาดว่าสัดส่วนการเกิดลูกเพศเมียเป็น 70 % จะเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากขึ้นเป็น 20,460,000,000 บาท (เมื่อราคาของโคเนื้ออายุ 3 ปี เพศเมียราคา 20,000 บาท และ ราคาโคเนื้อเพศผู้ราคา 4,500 บาท)
         ดังนั้นจึงมีการนำเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เข้ามาช่วยในการเพิ่มโอกาสที่จะได้ลูกโคเนื้อเพศเมียเพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้ต้องการประยุกต์ใช้โมโนโคนอลแอนติบอดีต่อสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายของโคขาวลำพูนในปฏิกิริยาไซโตทอกซิก เพื่อทำลายสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายอย่างจำเพาะเจาะจงเมื่อทำงานร่วมกับคอมพลีเมนต์ ทำให้ได้สัดส่วนลูกโคเพศเมียเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่การใช้งานของเกษตรกร และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการผลิตน้ำเชื้อคัดเพศโดยเทคนิค flow cytometry รวมถึงเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสำหรับการคัดเพศน้ำเชื้อโคเนื้อสำหรับการผสมเทียม ทำให้ได้จำนวนน้ำเชื้อในการผสมเทียมมากกว่าเทคนิค flow cytometry ผลจากการวิจัยในครั้งนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะได้เทคโนโลยีการคัดเพศด้วยวิธีดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงและพัฒนาโคขาวลำพูนในเชิงพาณิชย์ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงอุตสาหกรรมโคเนื้อที่มีแนวโน้มกำลังจะเติบโตในอนาคต

  วัตถุประสงค์
    5.1 เพื่อผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายของโคขาวลำพูน
    5.2 เพื่อลดสัดส่วนสเปิร์มที่มีโครโมโซมวายในน้ำเชื้อโคขาวลำพูนด้วยปฏิกิริยาไซโตทอกซิคจากโมโนโคลนอลแอนติบอดี

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

1
-

1
-

 -
 -

 2
-
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

1
-
-

-
-
-

1
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

2
-
-

2
-
-

2
-
-

6
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-



-
-
-



-
-
-



-
-
 -


5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 ผลิตน้ำเชื้อคัดเพศแช่แข็ง


 
1 (1.5 ล้านบาท)
1 (1.5 ล้านบาท)
2 (3 ล้านบาท)


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th