|
โครงการวิจัยกาแฟ |
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีเพื่อผลิตกาแฟอราบิก้าที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่เป็นพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม
(Organic and Bio Fertilizer Replacement Chemical Fertilizer in Arabica Coffee Production for Safety Consumption and Clean Environment.) |
ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
1. นายวราพงษ์ บุญมา (Warapong Boonma ) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. นายชวลิต กอสัมพันธ์ (Chawalit Korsamphan ) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. นายประเสริฐ คำออน (Prasert Kam-On ) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. นายถาวร สุภาวงศ์ (Tawon Supawong) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการเหตุผล
การปรับระบบการผลิตที่เคยพึ่งพาแต่สารเคมีหันมาสู่วิถีธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้เองนอกจากจะลดต้นทุนการผลิตได้แล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรเองรวมถึงผู้บริโภค และยังช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วย ที่สำคัญสินค้าเกษตรอินทรีย์กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินค้าอินทรีย์สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าสินค้าเกษตรปกติ การพัฒนาเกษตรอินทรีย์จะช่วยลดภาระการนำเข้าสารเคมีและปุ๋ยเคมีกว่า ร้อยละ 50 หรือไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และยังช่วยลดรายจ่ายทางสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนของมนุษย์
ในปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกชนิดหนึ่ง เกษตรกรไทยทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยปลูกกาแฟกันมากโดยภาคเหนือปลูกกาแฟพันธุ์อราบิก้า ภาคกลางและภาคใต้ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า จากสถานการณ์ในปัจจุบันธุรกิจกาแฟคั่วบดซึ่งวัตถุดิบในการใช้ทำกาแฟคั่วบดนั้นต้องใช้กาแฟพันธุ์อราบิก้าเป็นหลัก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวของตลาดสูงถึง
ร้อยละ 20
การจัดการปุ๋ยและธาตุอาหารสำหรับต้นกาแฟ ต้องให้ปุ๋ยเคมีไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (ประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่) ในปัจจุบันปุ๋ยเคมีราคาแพงกว่าในอดีตมาก ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการใช้ปุ๋ยมากขึ้น การหาชนิดปุ๋ยที่มีราคาถูก และสามารถหาได้ในท้องถิ่นเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการลดต้นทุนของปุ๋ยในการปลูกและผลิตกาแฟให้ได้ผลผลิตและคุณภาพที่ดี โดยที่ผลผลิตไม่ลดลงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้มีปุ๋ยหลายชนิดที่ผลิตออกจำหน่ายทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยชีวภาพ ที่สามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพงได้
ดังนั้นการลดปริมาณหรือเลิกการใช้ปุ๋ยเคมีโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพทดแทนในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของกาแฟ น่าจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาทางหนึ่งในการลดอันตรายจากการใช้ปุ๋ยเคมีต่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ และเป็นการลดต้นทุนการผลิตจากราคาปุ๋ยเคมีที่แพงขึ้น นอกเหนือจากนั้นผลผลิตของกาแฟที่ผลิตได้ยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค
วัตถุประสงค์
5.1 ผลิตกาแฟอราบิก้า ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
5.2 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ในการลดต้นทุนการผลิตกาแฟและลดอันตรายต่อทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่สูงของประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลงาน, ผลผลิต |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
รวม |
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
1.1 ระดับนานาชาติ
1.2 ระดับชาติ |
-
1
|
-
-
|
-
2
|
-
3
|
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
2.1 ที่ขอยื่นจด
2.2 ที่ได้รับแล้ว
2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์ |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
(ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
5.1 ระบุจำนวนผลงานและประมาณการมูลค่าในวงเล็บ
- ผลผลิตกาแฟที่ปลอดสารเคมี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
|
|
|
|
1
(1,000 ล้านบาท)
|
|
|
|