การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยกาแฟ
 ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือของประเทศไทย (Northern Thai Arabica Coffee Database for Supply Chain Development)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ. รำไพพรรณ อภิชาติพงศ์ชัย (Rampaipan Apichartpongchai ) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. นางสาวพัชนี สุวรรณวิศลกิจ (Patchanee Suwanwisolkit ) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         กาแฟอราบิก้า (Coffea arabica L.) เป็นพืชที่นำเข้ามาส่งเสริมปลูกเป็นพืชทดแทนการปลูกพืชเสพติด (ฝิ่น) บนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งต่างประเทศและในประเทศ แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของข้อมูลด้านการตลาดทำให้ภาวการณ์ผลิตของเกษตรกรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบกาแฟอราบิก้าจากภาคเหนือไม่ชัดเจนไปด้วย ในช่วงระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา พบว่า ภาวการณ์ผลิตในส่วนของพื้นที่ปลูกมีทั้งการลดและการขยายพื้นที่ทั้งโดยบทบาทของภาครัฐและเอกชน ภาวการณ์ตลาดมีปัญหาในส่วนของข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกาแฟอราบิก้าทำให้การคาดการณ์ในเรื่องของราคาและปริมาณผลผลิตเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตและการตลาดได้
         ดังนั้น การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือของประเทศไทย จะมีประโยชน์ในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในภาวะการผลิตและสถานการณ์ที่เป็นอยู่จริง และจะสามารถทำให้เกษตรกรผู้ผลิตได้ทราบถึงพื้นที่การผลิตอื่น เพื่อการแสวงหาแนวร่วมในการพัฒนาการผลิตกาแฟจากภาคเหนือให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งการทำให้ภาคธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลพื้นที่การผลิตต่างๆ เพื่อการเชื่อมต่อทางด้านการตลาดและมีแนวทางการผลิตการแปรรูปด้วยปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับห่วงโซ่อุปทานกาแฟอราบิก้า นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกาแฟอราบิก้าที่ผลิตได้จากทางภาคเหนือของประเทศไทยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางเลือกในการบริโภคผลผลิตที่มีคุณภาพและสนับสนุนผลผลิตภายในประเทศทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนเกิดความสมดุลยิ่งขึ้น

  วัตถุประสงค์
    5.1 เพื่อสร้างฐานข้อมูลแหล่งผลิตและแหล่งแปรรูปกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือ สำหรับการเชื่อมโยงการดำเนินงานและการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในห่วงโซ่อุปทานกาแฟอราบิก้า ของประเทศไทย
    5.2 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการ รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ผลิต/เกษตรกร ผู้แปรรูป/ผู้ประกอบการ ระดับต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานของกาแฟอราบิก้า
    5.3 เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกาแฟอราบิก้าในภาคเหนือ ให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนากาแฟอราบิก้าของประเทศไทยด้วยข้อมูลความรู้

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

-
-

 -
 -

 -
 1

 -
1
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

-
-
-

-
-
-

1
-
-

1
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-



-
-
1



-
-
-



-
-
1


5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 จัดทำนามานุกรมกาแฟอราบิก้าภาคเหนือ
         5.2 ได้ฐานข้อมูล

-
-


-
-


1
1


1
1



 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th