|
โครงการวิจัยลำไย |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวและอาหารเช้าธัญชาติผสมลำไยโดยกระบวนการเอกซ์ทรูชัน (โครงการ 2 ปี) (Development of longan snack and breakfast cereal by extrusion process (two years) |
ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
1. ผศ. ดร. ศรีสุวรรณ นฤนาทวงศ์สกุล (Srisuwan Naruenartwongsakul) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. นางสาวสุรินทร์พร ศรีไพรสนธิ์ (Surinporn Sripaison) สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการเหตุผล
ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ นิยมบริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป ปริมาณผลผลิตในแต่ละปีมีไม่แน่นอน บางปีมีมากเกินความต้องการ ทำให้ราคาตกต่ำ รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยจัดหาตลาดเพื่อการส่งออกลำไยสดและผลิตภัณฑ์ลำไย ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ปลายเหตุ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาลำไยล้นตลาดคือ การนำลำไยมาใช้แปรรูปให้มากขึ้น หรือใช้ลำไยตกเกรดมาแปรรูปเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ลำไยยังเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงาน และมีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไยอบแห้งที่พบว่ามีสารประกอบฟีนอลิกที่มีประโยชน์ เช่น ellagic acid ซึ่งมีสมบัติเป็นสารต้านมะเร็ง การนำลำไยมาแปรรูปหรือใช้เป็นส่วนประกอบในขนมขบเคี้ยว และอาหารเช้าธัญชาติจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณการใช้ลำไยและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเด็กซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ได้มีงานวิจัยสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า มีเด็กนักเรียนที่บริโภคอาหารเช้าเพียง 70.9% และมีแนวโน้มที่จะบริโภคอาหารเช้าลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนหญิงอายุระหว่าง 12-14 ปี มีเพียง 48.1% เท่านั้นที่บริโภคอาหารเช้า ขณะที่นักเรียนที่กินขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลมเกือบทุกวันมีจำนวน 32.8 และ 26% ตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมการกินของเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ( ไม่กินอาหารเช้า เสี่ยงทุกโรค ใน โลกวันนี้ 24 สิงหาคม 2548) นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า เด็กไทยนิยมบริโภคขนมขบเคี้ยวเพิ่มขึ้น มีมูลค่าสูงถึง 170,000 ล้านบาทต่อปี กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของเยาวชนอายุระหว่าง 6-25 ปี ในปี พ.ศ. 2547 ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชน 54.70% มีขนมขบเคี้ยวอยู่ในบ้าน มีสมาชิกในบ้านที่ชื่นชอบบริโภคขนมขบเคี้ยว ได้แก่ พี่ น้อง พ่อ แม่ ญาติ แสดงว่าคนทุกเพศทุกวัยนิยมบริโภคขนมขบเคี้ยว สาเหตุที่บริโภคเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ช่วยแก้หิว รองท้องเวลาเร่งรีบ แก้เหงา เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย มีความสุขเวลากิน กินเพื่อฆ่าเวลา หาซื้อง่าย ราคาถูก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริโภคขนมขบเคี้ยว 1-2 วันต่อสัปดาห์จนถึงบริโภคเป็นประจำทุกวัน
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าขนมขบเคี้ยวเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมบริโภคมาก การผลิตขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ และการรณรงค์ให้ประชาชนรับประทานอาหารเช้ามากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการ ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงเน้นการแปรรูปลำไยโดยนำมาเป็นส่วนผสมในขนมขบเคี้ยว (โครงการปีที่ 1) และผลิตภัณฑ์อาหารเช้า (ปีที่ 2) เพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยใช้เครื่องเอกซ์ทรู-เดอร์ในการผลิต เนื่องจากสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพองกรอบ สะดวกต่อการบริโภค มีหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมวิตามินและเกลือแร่ที่มีลักษณะพองกรอบสำหรับเด็กในวัยเรียน ผลิตภัณฑ์ที่มีแคลอรีต่ำและใยอาหารสูงสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อพัฒนาสูตรขนมขบเคี้ยวผสมลำไย (โครงการปีที่ 1) และอาหารเช้าธัญชาติผสมลำไย (ปีที่ 2) ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นที่ยอมรับโดยกระบวนการเอกซ์ทรูชัน
5.2 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตขนมขบเคี้ยวและอาหารเช้าธัญชาติผสมลำไยโดยใช้เครื่องเอกซ์ทรูเดอร์แบบสกรูเดี่ยว
5.3 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของลำไย และช่วยแก้ปัญหาการมีลำไยมากเกินไปในบางปี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลงาน, ผลผลิต |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
รวม |
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
1.1 ระดับนานาชาติ
1.2 ระดับชาติ |
-
1
|
1
1
|
-
-
|
1
2
|
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
2.1 ที่ขอยื่นจด
2.2 ที่ได้รับแล้ว
2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์ |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก |
1
-
-
|
1
-
-
|
-
-
-
|
2
-
-
|
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
(ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
5.1 ระบุจำนวนผลงานตีพิมพ์/เผยแพร่
5.2 การถ่ายทอดเทคโนโลยี
|
1
1
|
1
1
|
-
-
|
2
2
|
|
|
|