|
โครงการวิจัยลำไย |
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาลักษณะเนื้อสัมผัสของลำไยแปรรูปปราศจากการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ (Application Technology for Develop Texture of Processed Longan by Non-Used Sulfur Dioxide for Commercial Scale ) |
ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
1. รศ.ดร.ไพโรจน์ วิริยจารี (Pairote Wiriyacharee) สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. นายเรวัตร พงษ์พิสุทธินันท์ (Rewat Phongphisutthinant) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. นายศักดา พรึงลำภู (Sakda Pruenglampoo) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. นางโพธิ์ศรี ลีลาภัทร์ (Posri Leelapat) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ผศ.ดร. วัสสนัย วรรธนัจฉริยา (Wassanai Wattanutchariya) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. นางณัฐพร ลัดเครือ (Natthaphon Ladkruea) โรงงานแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มูลนิธิโครงการหลวง
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หลักการเหตุผล
ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจหลักชนิดหนึ่งของไทย ผลผลิตลำไย ปี 2544-2550 เฉลี่ยปีละ 478,962 ตัน โดยปี 2551 และ ปี 2552 ประมาณการผลผลิต 433,200 ตัน และ 441,660 ตัน ตามลำดับ ผลผลิตลำไยมีทั้งผลผลิตในฤดูและนอกฤดู มีการผลิตลำไยนอกฤดูเพื่อลดความเสี่ยงในด้านราคาที่ตกต่ำในช่วงฤดูกาล แหล่งเพาะปลูกสำคัญร้อยละ 85 อยู่ทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และตาก ลำไยเป็นผลไม้ที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นต้องเร่งระบายผลผลิตให้ได้มากที่สุดในเวลาอันรวดเร็วทำให้ขาดอำนาจต่อรองในการกำหนดราคา และหากไม่มีตลาดรองรับผลผลิตจำนวนมากนี้ผู้ค้าก็สามารถกดราคารับซื้อได้ จนทำให้ระดับราคาตกต่ำลงเนื่องจากผลผลิตลำไยล้นตลาด จึงมีแนวความคิดพัฒนาการแปรรูปลำไยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เพิ่มมูลค่าของผลผลิตและมีความปลอดภัยกับผู้บริโภค โดยโครงการวิจัยนี้มีการดำเนินงานทั้งหมด 3 ปี และทำการศึกษาวิจัย 4 ส่วน ได้แก่ 1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการแทรกซึมภายใต้สุญญากาศ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของลำไยอบแห้งในปัจจุบันที่มีเนื้อสัมผัสเหนียวและมีรสหวานเกินไปให้มีความนุ่ม มีความหวานลดลงและปราศจากการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแช่แข็งชนิดเนื้อนุ่มที่มีลักษณะเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง สามารถบริโภคร่วมกับไอศรีมหรือโยเกิร์ต 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยชนิดเนื้อกรอบที่มีลักษณะเนื้อสัมผัสกรอบเหมาะสำหรับบริโภคเป็นขนมขบเคี้ยว และ 4) การประเมินศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้ทั้ง 3 ชนิด ในการผลิตจำหน่าย ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ช่วยลดปัญหาราคาผลผลิตลำไยตกต่ำ ช่วยการสร้างงานสร้างรายได้ และยังเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคอีกด้วย
วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพ เทคโนโลยีการแทรกซึมภายใต้สุญญากาศในการผลิตลำไยอบแห้งปราศจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เหมาะสม
5.2 เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแทรกซึมภายใต้สุญญากาศเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยแช่แข็งชนิดเนื้อนุ่มที่เหมาะสม
5.3 เพื่อศึกษากระบวนการผลิตลำไยแห้งชนิดเนื้อกรอบที่เหมาะสม
5.4 เพื่อประเมินศักยภาพของการผลิตผลิตภัณฑ์จากลำไย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลงาน, ผลผลิต |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
รวม |
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
1.1 ระดับนานาชาติ
1.2 ระดับชาติ |
1
1
|
1
1
|
1
1
|
3
3
|
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
2.1 ที่ขอยื่นจด
2.2 ที่ได้รับแล้ว
2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์ |
1
-
-
|
1
-
-
|
1
-
-
|
3
-
-
|
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก |
1
-
-
|
1
-
-
|
1
-
-
|
3
-
-
|
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
(ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
5.1 จำนวนผลงาน 6 ผลิตภัณฑ์ (มูลค่า)
5.2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจ
|
4
-
|
1
1
|
1
1
|
6
2
|
|
|
|