|
โครงการวิจัยลำไย |
การเพิ่มกำไรการผลิตลำไยนอกฤดูด้วยสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงข้อมูลโซ่อุปทานของเกษตรกร (Increasing Profits for Off-Season Longan via Network Development and Information Linkage of Farmers ) |
ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
1. ผศ. ดร. อภิชาต โสภาแดง (Apichat Sopadang) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. รศ.ดร.ตรัสพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ (Trasapong Thaiupathump) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ผศ.ดร.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ (Wanvilai Chulaphan) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ผศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล์ (Komgrit Leksakul) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ผศ. ดร.กรกฏ ใยบัวเทศ (Korakot Yaibuathed) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการเหตุผล
ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี ทั้งนี้พื้นที่และปริมาณการผลิตลำไยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2543-2550 เนื่องจากเกษตรกรคุ้นเคยกับการปลูกลำไยและยังสามารถขายได้ทุกปี แต่สถานการณ์การผลิตและการค้าลำไยที่ผ่านมาประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ปริมาณความต้องการและบริโภคคงที่ แต่ปริมาณการผลิตกลับเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการผลิตนอกฤดู ส่งผลโดยตรงกับเกษตรกรผู้ปลูก ทำให้ขายลำไยสดได้ในราคาที่ต่ำ โดยที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนรัฐบาลมีนโยบายเข้ามาสนับสนุนด้านราคา ทั้งนี้คุณภาพของลำไยสด อาจไม่แน่นอนขึ้นกับภูมิอากาศ อีกทั้งเกษตรกรขาดข้อมูลทางการตลาด และขาดระบบการจัดการในการกระจายสินค้า การจัดเก็บผลผลิตที่มีมากในช่วงฤดูกาล รวมทั้งขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน หากไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบย่อมส่งผลต่อการผลิตและการค้าลำไยในระยะยาว
จากการรายงานการศึกษาระบบโซ่อุปทานของลำไยสดในประเทศไทย (อภิชาตและคณะ, 2551) ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากการจัดการระบบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือการขาดข้อมูล รวมถึงองค์ความรู้ในบางด้านที่ต้องใช้พื้นฐานของการติดต่อสื่อสารเป็นหลัก หรือการเชื่อมโยง การประสานความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร
การแก้ปัญหาในการเชื่อมโยงข้อมูลในกลุ่มชุมชนในโซ่อุปทานเพื่อให้เกิดการกระจายข้อมูลอย่างทั่วถึงในห่วงโซ่อุปทานในส่วนของชาวสวน ซึ่งหากชาวสวนได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดีแล้ว จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาต่างที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากเกษตรกรได้มีแหล่งรับความรู้ และสะท้อนปัญหากลับไปยังหน่วยงานหรือองค์กรที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เช่นสถาบันการศึกษา สถานีวิทยุเป็นต้น ซึ่งหากมีการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านข้อมูลข่าวสาร (i-community) ในส่วนของโซ่อุปทานในส่วนของต้นน้ำคือกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งหากได้มีการพัฒนาเป็นชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็งแล้ว จะส่งผลให้กระบวนการการไหลของข้อมูลและวัตถุดิบมีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงไปยังกลุ่ม ล้ง โรงงานแปรรูป บริษัทขนส่ง และผู้นำเข้าส่งออก ซึ่งหากโครงการ i-community ในส่วนของเกษตรกรประสบผลสำเร็จหรือเป็นชุมชนที่เข้มแข็งแล้ว จะส่งผลให้เกิดโครงการต่อเนื่องที่มีศักยภาพ
วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านลำไยที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานโดยอาศัยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบ XML
5.2 เพื่อสร้างและพัฒนาฐานข้อมูล สำหรับเข้ามาใช้งานเพื่อประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลข่าวสารความรู้ในโซ่อุปทาน (e-Logistics) เช่น เกษตรกร ล้ง และผู้ที่สนใจทั่วไป รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักวิชาการ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียม
5.3 เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ซึ่งกันและกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและดำเนินงาน
5.4 เพื่อพัฒนาโปรแกรมการพยากรณ์ปริมาณการผลิตลำไยนอกฤดู เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันในการวางแผนการปลูก การสร้างรูปแบบการดำเนินงานของเกษตรกร ในการวางแผน การพยากรณ์ การสอดส่องดูแลช่วยเหลือระหว่างเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลงาน, ผลผลิต |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
รวม |
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
1.1 ระดับนานาชาติ
1.2 ระดับชาติ |
3
2
|
3
2
|
-
-
|
6
4
|
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
2.1 ที่ขอยื่นจด
2.2 ที่ได้รับแล้ว
2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์ |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก |
1
1
-
|
2
1
-
|
-
-
-
|
3
2
-
|
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
(ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
|
|
|
|
|
|
|
|