การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยลำไย
 โครงการวิจัยการพัฒนาการผลิตลำไยชีวภาพที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Development of Bio-longan Production for Good Quality and Safety Produces and Technology Transfer to Community)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. ผศ.ดร.สุรินทร์ นิลสำราญจิต (Surin Nilsamranchit) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. ผศ.ดร.เกวลิน คุณาศักดากุล (Kaewalin Kunasakdakul) ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. นางสาวบุณรดา ไชยกันทา (Bunrada Chaikunta) หน่วยวิจัยและพัฒนาลำไยหริภุญไชย จังหวัดลำพูน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     4. นางพัชรินทร์ ปลุกเสก (Patcharin Pluksek) หน่วยวิจัยและพัฒนาลำไยหริภุญไชย จังหวัดลำพูน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     5. นางพรรัตน์ ศิริคำ (Pornrat Sirikhum) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     6. นายสมศักดิ์ จีรัตน์ (Somsak Jeerat) ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับหนึ่งของการส่งออกผลไม้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกมากขึ้นทุกปี ปริมาณการส่งออกของลำไยสดในปี 2545 สูงถึง 40,880 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ถึงสองเท่า (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ,2545) จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรมากและมูลค่าในการส่งออกต่างประเทศสูง ทั้งในรูปแบบลำไยสดและลำไยอบแห้ง นอกจากนี้รัฐบาลยังกำหนดให้ลำไยเป็นไม้ผลยอดเยี่ยม (Product Champion) จึงเป็นผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกลำไยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่ปลูกลำไยไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว นอกจากพื้นที่ปลูกลำไยภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีรายงานการขยายพื้นที่ปลูกในต่างประเทศอีกด้วย เช่น จีน เวียตนาม ลาว พม่า ทำให้มีแนวโน้มของผลผลิตลำไยในโลกจะเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างมากมายทำให้มีผลกระทบต่อการส่งลำไยออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศของไทย รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเน้นการพัฒนาด้านคุณภาพลำไย มีการแปรรูปในลักษณะที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และหาแนวทางในการสร้างตลาดใหม่ให้มากขึ้นด้วย และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
         นอกจากเกษตรกรมักประสบปัญหาต่างๆในขั้นตอนการผลิตลำไยแล้ว ปัญหาที่พบในการใช้สารเคมีและผลตกค้างของสารเคมี โดยประเทศที่นำเข้าผลลำไยสดได้กำหนดปริมาณการตกค้างของสารเคมีไว้ ดังนั้นหากมีการนำเทคโนโลยีการผลิตลำไยอย่างถูกวิธี ที่มีคุณภาพและปลอดภัยของผลิตผลในการบริโภค จากกระแสผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ มีความต้องการอาหารที่มาจากการะบวนการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบการผลิตลำไยของไทยจะต้องมีการพัฒนาให้ได้มาตรฐานทั้งทางด้าน คุณภาพ และสุขอนามัย ซึ่งลำไยของไทยมักประสบปัญหาเรื่องสารตกค้างในผลผลิตเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยตลาดต่างประเทศ และอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำการเกษตรในประเทศไทย คือความเสียหายอันเนื่องมาจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ซึ่งเกษตรกรมักแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมีฆ่าแมลงกำจัดแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ แม้ว่าอาจจะใช้ได้ผลดีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นติดตามมาและเป็นที่ตระหนักกันทั่วโลกก็คือ สารฆ่าแมลงได้ตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้สารฆ่าแมลงยังได้สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลกระทบทางนิเวศวิทยานานัปการ จากมาตรการตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรที่ตกค้างในผลผลิตที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีแนวโน้มทำให้การส่งออกผลผลิตสดของประเทศต้องประสบปัญหามากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรของไทยยังไม่มีหลักและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเกษตรกรจะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หากยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ทันท่วงที การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและส่งเสริมการพัฒนาด้านคุณภาพของผลผลิตและสุขอนามัย
         คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกลำไยที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดของประเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการวิจัยนี้ขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรไทยให้สามารถผลิตลำไยได้ตรงตามความต้องการและเงื่อนไขของตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ลำไยของไทยสามารถครองตลาดต่างประเทศไว้ได้อย่างมั่นคง และยังสามารถเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้ได้กับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆ อีกด้วย

  วัตถุประสงค์
     5.1 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตลำไยชีวภาพที่มีคุณภาพดี และเป็นอาหารปลอดภัย
    5.2 เพื่อศึกษาการใช้วัสดุจากธรรมชาติในกระบวนการผลิตลำไยทดแทนการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    5.3 เพื่อสร้างเครือข่ายการผลิตลำไยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค
    5.4 เพื่อจัดตั้งศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลำไยชีวภาพให้กับเกษตรกร บุคลากรที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมการเกษตรและให้คำแนะนำปรึกษาในการจัดการกระบวนการผลิต ลำไยที่มีคุณภาพและปลอดภัย
    5.5 เพื่อจัดสร้างสวนตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพการผลิตลำไยชีวภาพให้กับผู้สนใจ

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 -
1

 -
2

1
3

 1
6
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

3
-
-

4
-
-

5
-
-

12
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 การจัดประชุมอบรม
         5.2 เกษตรกรที่นำเทคโนโลยีไปใช้ปฏิบัติ
         5.3 ผู้รับเอกสารเผยแพร่เทคโนโลยี
         5.4 สิ่งพิมพ์การผลิตลำไยชีวภาพ

2
5
100
-


2
10
200
-


2
20
500
1000


6
35
800
1000



 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th