|
โครงการวิจัยข้าว |
การศึกษาฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวก่ำและสารสกัดจากข้าวก่ำในหนูขาวที่มีภาวะเบาหวาน (Antihyperglycemic and antioxidant properties of purple rice and purple rice extract in diabetic rat) |
ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
1. ดร. นริศรา ไล้เลิศ (Narissara Lailerd) ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ผศ. ดร. อัญชลี พงศ์ชัยเดชา (Anchalee Pongchaidecha) ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. รศ.ดร. ดำเนิน กาละดี (Dumnern Karladee) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ดร. อนุสรณ์ ลังกาพินธิ์ (Anusorn Lungkaphin) ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ผศ.ดร. รวิวรรณ วงศ์ภูมิชัย (Rawiwan Wongpumchai) ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล (Doungporn Amornlerdpison) คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หลักการเหตุผล
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่พบบ่อย และเป็นปัญหาที่สำคัญต่อภาวะสุขภาพของคนไทยและทั่วโลก จากรายงานการศึกษาทั้งในคลินิกและในสัตว์ทดลองพบว่า สารอนุมูลอิสระหรือการเกิดภาวะ oxidative stress มีบทบาทสำคัญต่อพยาธิสภาพการเกิดโรคเบาหวาน เช่น การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง , ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน และการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคเบาหวาน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension), โรคหลอดเลือดอุดตัน (arteriosclerosis), โรคไตวาย (renal failure) และโรคหัวใจ เป็นต้น ในงานวิจัยหลายๆชิ้นงานพบว่าในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีผลเพิ่มสารอนุมูลอิสระหรือก่อให้เกิดภาวะ oxidative stress ในร่างกาย การรักษาโรคเบาหวานนั้นต้องรักษาไปตลอดชีวิต และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสียชีวิต อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามโรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นวิธีทางที่ดีและเหมาะสมในการลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานหรือลดอัตราการตายจากโรคเบาหวานคือการป้องกันโรคและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการป้องกันและรักษาโรคเบาหวานด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นที่สนใจและมีการใช้มาเป็นเวลานาน และปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับการหาสารต้านเบาหวานจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในประเทศไทยก็ได้มีการศึกษาอย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง หรือศึกษาในสัตว์ทดลองปกติ หรือศึกษาในระยะเวลาสั้นๆ จึงทำให้การนำไปใช้ในคนสุขภาพดีในเชิงป้องกันหรือผู้ป่วยในเชิงรักษาไม่ค่อยมีประสิทธิผลเท่าที่ควร ดังนั้นการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรในสัตว์ทดลองที่มีภาวะเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 ในระยะเวลานาน จึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผลการทดลองที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้นในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองปกติ
ในประเทศไทยมีข้าวหลายสายพันธุ์ โดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นข้าวเหนียวกับข้าวเจ้า ข้าวก่ำเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดเป็นสีออกแดงหรือแดงก่ำ มีการปลูกเป็นพืชเสริมในการทำนาไม่ได้มีการปลูกเพื่อผลิตเป็นการค้าอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร มีบางส่วนถูกนำไปใช้เป็นสมุนไพร เช่นใช้ทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้องร่วง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการรวบรวมและวิจัยสายพันธุ์ข้าวก่ำต่างๆ ในประเทศไทย มามากกว่า 10 ปีแล้ว จากการวิจัยพบว่า ข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแกมมา-โอรีซานอล (Gammaoryzanol) สารแอนโทไซยานินนี้มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย และสารแกมมา-โอรีซานอล นอกจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทั้งยังสามารถลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL) ในเลือด ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าข้าวก่ำหรือสารสกัดจากข้าวก่ำมีศักยภาพสูงเหมาะสมที่จะพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี
วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อศึกษาฤทธิ์ของข้าวก่ำและสารสกัดจากข้าวก่ำต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวปกติ
5.2 เพื่อศึกษาฤทธิ์ของข้าวก่ำและสารสกัดจากข้าวก่ำต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวาน ด้วยสาร streptozotocin
5.3 เพื่อศึกษาฤทธิ์ของข้าวก่ำและสารสกัดจากข้าวก่ำต่อระดับสารอนุมูลอิสระในเลือดของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวานด้วยสาร streptozotocin
5.4 เพื่อศึกษาผลของข้าวก่ำและสารสกัดจากข้าวก่ำต่อการส่งสัญญาณภายในเซลล์ของอินซูลิน (insulin signaling) ในกล้ามเนื้อของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวานด้วยสาร streptozotocin
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลงาน, ผลผลิต |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
รวม |
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
1.1 ระดับนานาชาติ
1.2 ระดับชาติ |
1
-
|
1
-
|
1
-
|
3
-
|
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
2.1 ที่ขอยื่นจด
2.2 ที่ได้รับแล้ว
2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์ |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก |
-
-
-
|
-
-
-
|
-
1
-
|
-
1
-
|
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
(ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
-
-
-
|
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
|
|
|
|
|
|
|
|