การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 ผลของสารสกัดจากข้าวก่ำต่อการเกิดมะเร็งตับในหนูขาว (Effects of purple rice extracts on hepatocarcinogenesis in rat)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. ผศ.ดร. รวิวรรณ วงศ์ภูมิชัย (พัวธนาโชคชัย) (Rawiwan Wongpoomchai (Puatanachokchai) ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. รศ.ดร. สุกัญญา วงศ์พรชัย (Sugunya Wongpornchai) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. รศ.ดร. ดำเนิน กาละดี (Dumnern Karladee) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งของประเทศไทย การรักษาโรคมะเร็งนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีโอกาสเกิดอาการพิษข้างเคียงจากยารักษามะเร็ง(Chemotherapy) อีกทั้งมีอัตราการล้มเหลวต่อการรักษาโรคสูง อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นวิธีทางที่ดีและเหมาะสมในการลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งคือการป้องกันมะเร็ง (Cancer Prevention) เนื่องจากสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งคือสารเคมีที่พบในสิ่งแวดล้อมประจำวัน ทำให้การป้องกันและรักษาโรคมะเร็งด้วยผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นที่สนใจและมีการใช้มาเป็นเวลานาน และปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับการหาสารต้านมะเร็งจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในประเทศไทยได้มีการศึกษาอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง (In vitro) จึงทำให้การเชื่อมโยงจากข้อมูลดังกล่าวกับการนำไปใช้จริงในคนสุขภาพดีในเชิงป้องกันหรือผู้ป่วยในเชิงรักษาได้ค่อนข้างยาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากการขาดระบบเอนไซม์และฮอร์โมนควบคุมที่เกี่ยวข้องกับการย่อย การดูดซึม รวมทั้งขบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่อวัยวะเป้าหมาย และการกำจัดออกจากร่างกายของสารสกัดและสารสำคัญในการศึกษาแบบในหลอดทดลอง ดังนั้นการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพรวมถึงฤทธิ์ต้านมะเร็งของสมุนไพรในสัตว์ทดลอง หรือ in vivo model จึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผลการทดลองที่ได้การศึกษาในหลอดทดลอง
         ในประเทศไทยมีข้าวหลายสายพันธุ์ โดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นข้าวเหนียวกับข้าวเจ้า ข้าวก่ำเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดเป็นสีออกแดงหรือแดงก่ำ มีการปลูกเป็นพืชเสริมในการทำนา ไม่ได้มีการปลูกเพื่อผลิตเป็นการค้าอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร มีบางส่วนถูกนำไปใช้เป็นสมุนไพร เช่น ห้ามเลือดใช้สำหรับหญิงที่ตกเลือดในขณะคลอดบุตร และใช้ทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้องร่วง เป็นต้น คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการรวบรวมและวิจัยสายพันธุ์ข้าวก่ำต่างๆ ในประเทศไทย มามากกว่า 10 ปีแล้ว จากการวิจัยพบว่า ข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแกมมา-โอรีซานอล (Gamma–oryzanol) สารแอนโทไซยานินนี้มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย และสารแกมมา-โอรีซานอล นอกจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ยังสามารถลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL) ในเลือด ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยังยั้งการรวมตัวของเลือดอีกด้วย งานวิจัยนี้จะคัดเลือกสารสกัดจากข้าวก่ำที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์สูงสุดโดยวิธีการทดสอบ Bacterial mutation assay เพื่อนำมาทำการทดสอบต่อไปในสัตว์ทดลอง โดยศึกษาถึงความปลอดภัยต่อร่างกาย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทดสอบฤทธิ์ก่อมะเร็งและต้านมะเร็งตับระยะก่อตัวโดยใช้การตรวจวัดการเกิดไมโครนิวเคลียสซึ่งเป็นผลอย่างหนึ่งเกิดจากการที่ดีเอ็นเอถูกทำลายโดยสารก่อมะเร็งในตับหนู และทำการศึกษาผลของสารสกัดข้าวก่ำต่อการเกิดมะเร็งตับระยะส่งเสริมโดยใช้การทดสอบฤทธิ์ก่อมะเร็งแบบระยะกลาง (Medium-term Carcinogenicity Test) ในหนูขาว

  วัตถุประสงค์
     5.1 ศึกษาหาสารสกัดข้าวก่ำจากการสกัดด้วยวิธีต่างๆที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย
    5.2 ศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดข้าวก่ำในหนูขาว
    5.3 ศึกษาผลของสารสกัดข้าวก่ำต่อการเกิดมะเร็งตับในระยะก่อตัวของหนูขาว
    5.4 ศึกษาผลของสารสกัดข้าวก่ำต่อการเกิดมะเร็งตับในระยะส่งเสริมของหนูขาว
    5.5 ศึกษาผลของสารสกัดข้าวก่ำต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหนูขาว

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
1

 1
 -

1
-

 3
 1
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

1
-
-

-
1
-

-
1
-

1
2
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต


       


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th