การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 การศึกษาฤทธิ์ของอาหารผสมข้าวก่ำในการป้องกันการเกิดรอยโรคเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง และผลของสารสกัดข้าวก่ำต่อการเจริญเติบโตและลุกลามของเซลล์มะเร็งลำไส้ (The effects of purple rice mixed diet on the preneoplastic lesion of rat colon cancer and effect of purple rice extract on proliferation and invasion of colon cancer cell lines )

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. ผศ. ดร. ธีระ ชีโวนรินทร์ (Teera Chewonarin) ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ในปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับ 3 ในเพศชายและอันดับ 5 ในเพศหญิงของผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย สาเหตุหลักอาจเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและหรือการได้รับสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมร่วมกับการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้นี้ (1) การรักษาโรคมะเร็งลำไส้นั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงและอัตราการรอดชีวิตต่ำดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจึงเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาโรคมะเร็งได้ซึ่งปัจจุบันมีการใช้สารเคมีป้องกัน (chemopreventive agents) จากอาหารมาป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกันอย่างแพร่หลาย (2) จากงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและการทดลองในห้องปฏิบัติการได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของมะเร็งลำไส้กับอาหารจำพวกไฟเบอร์ และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ว่ามีผลในการยับยั้งอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งลำไส้
         ข้าวเป็นอาหารหลักของคนในเอเชียโดยเฉพาะคนไทยซึ่งนอกจากให้พลังงานแล้วยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์อีกมากมาย ในประเทศไทยมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ข้าวก่ำเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่มีเมล็ดเป็นสีออกแดงหรือแดงก่ำ ข้าวก่ำมีการปลูกเป็นพืชเสริมในการทำนา ส่วนใหญ่ข้าวก่ำถูกนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร และมีส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ใน เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับหญิงที่ตกเลือดในขณะคลอดบุตร และใช้ทำเป็นข้าวหลามรักษาโรคท้องร่วง เป็นต้น คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการรวบรวมและวิจัยสายพันธุ์ข้าวก่ำต่างๆ ในประเทศไทย มามากกว่า 10 ปีแล้ว จากการวิจัยพบว่า ข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย 2 ชนิด ได้แก่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแกมมา-โอรีซานอล (Gamma–oryzanol) สารแอนโทไซยานินนี้มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย และสารแกมมา-โอรีซานอล นอกจากมีคุณสมบัติเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ยังสามารถลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของ high density lipoprotein (HDL) ในเลือด ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยังยั้งการรวมตัวของเลือดอีกด้วย ซึ่งยังมีการศึกษาถึงสารออกฤทธิ์ในข้าว เช่น กากไยอาหาร, ferulic acid, phytic acid และ oryzanols มีฤทธิ์ในการยับยั้งขบวนการเกิดมะเร็งที่เหนี่ยวนำโดยสารเคมีได้ (3-6)

  วัตถุประสงค์
     5.1 ศึกษาถึงกลไกในการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุลของเซลล์มะเร็งลำไส้ที่ได้รับสารสกัดจากข้าวก่ำ
    5.2 เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูขาวที่ได้รับสารก่อมะเร็งลำไส้ในระยะเริ่มต้น
    5.3 เพื่อศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระบนเซลล์บุผนังสำไส้ในหนูขาวที่ได้รับสารก่อมะเร็งลำไส้และสารก่อการอักเสบ
    5.4 เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูขาวที่ได้รับสารก่อมะเร็งลำไส้ในระยะส่งเสริม

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
-

 -
 1

 1
 -

  2
 1
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

1
-
-

-
-
-

1
-
-

2
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
       

       


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th