การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและระบบการตลาดของข้าวอินทรีย์และข้าวก่ำ (Efficiency Development for Production and Marketing Systems of Organic Rice and Purple Rice)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ. ดร. พัฒนา เจียรวิริยะพันธ์ (Pattana Jierwiriyapant) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. นายองอาจ เลี้ยงพันธุ์สกุล (Ong-Art Liangphansakul) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. นางสาววรรวิไล จุลพันธ์ (Wanvilai Chulaphan) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     4. นายธรรมศาสตร์ พิชยศาสตร์พงศ์ (Thammasat Pichaya-satrapangse) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ข้าว (Rice) พืชตระกูลอาหารซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของโลก จัดเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของเกษตรกรไทยที่มีพื้นที่เพาะปลูกรวมกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของประเทศ ตามรายงานว่าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2552) ในปี 2551 ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลกประมาณ 10.6 ล้านตันโดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ร้อยละ 37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด โดยนำรายได้เข้าประเทศมากกว่า 90,000 ล้านบาท นั่นเป็นเพราะว่าข้าวไทยเป็นที่เชื่อถือในตลาดโลกมานานทั้งในแง่ชื่อเสียง คุณสมบัติที่แตกต่างจนเป็นที่หมายตาต่อคู่แข่งขันที่จะเข้ามาพัฒนาหรือช่วงชิงความได้เปรียบในตลาดข้าว จนผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกรายสำคัญอย่างไทยไม่สามารถที่จะนิ่งนอนใจได้อยู่ต่อไป และเมื่อทำการพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดของตลาด พบว่าแนวโน้มความต้องการบริโภคข้าวของตลาดโลกในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การผลิตอาหารหรือการบริโภคอาหารที่มีสุขลักษณะที่ดีต่อคุณภาพชีวิต ในความต้องการดังกล่าวการพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวก่ำของไทยซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีแหล่งผลิตอยู่ในภาคเหนือ ให้เป็นสินค้าที่มีความสำคัญในตลาด ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้กับตัวสินค้าข้าวของไทยในลักษณะบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง (Value chain) นับตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค (From farm to table) จึงเป็นเหตุผลสำคัญในอันที่จะต้องเร่งทำการศึกษาถึงความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรกรรมอย่างข้าวอินทรีย์และข้าวก่ำที่มีแหล่งการผลิตอยู่ในภาคเหนือตลอดทั้งสายโซ่อุปทาน (Supply chain) ในแง่ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ คนกลาง ผู้บริโภคทั้งทางด้านต้นทุน ผลตอบแทน รูปแบบความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานและโซ่คุณค่าในสินค้าทั้งสองชนิด เพื่อนำมาเป็นกรอบในการกำหนดทิศทาง นโยบายในการพัฒนาปรับปรุงประบวนการผลิตที่มีการเชื่อมโยงกันในลักษณะของคุณค่าที่เพิ่มขึ้นที่สามารถเชื่อโยงและสร้างการตอบสนองจากตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรองรับต่อสภาวะการแข่งขันในกลไกของระบบตลาดแบบเสรีและมีความสอดคล้องกับแผนนโยบายของรัฐบาลต่อไป

  วัตถุประสงค์
     โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การค้า การตลาด การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลาด ราคา กลไกการกระจายสินค้าในลักษณะของความสัมพันธ์แบบบูรณาการของสินค้าข้าวอินทรีย์และข้าวก่ำอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนับตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ภายใต้รูปแบบการแข่งขันอย่างเสรีและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจการรากฐานความเป็นสังคมเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
1

 -
 2

 -
 2

  1
 5
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

2
-
-

2
-
-

2
-
-

6
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 หน่วยธุรกิจมีแนวทางในการแสดงออกทางการตลาดที่ชัดเจน
         5.2 หน่วยธุรกิจมีช่องทางการจัดจำหน่วยที่เหมาะสม
         5.3 หน่วยธุรกิจสามารถลดความสูญเสียจากการดำเนินกิจกรรมทางการผลิตและการตลาด
         5.4 หน่วยธุรกิจมีแนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่เหมาะสม


1
-
-
-


-
1
-
-


-
-
1
1


1
1
1
1



 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th