การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 การใช้เครื่องหมายโมเลกุลตรวจสอบพันธุกรรมข้าวก่ำพื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ (Using Molecular Marker in Identifying Local Purple Rice for Germplasm Conservation and Plant Breeding)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ.ดร. ศันสนีย์ จำจด (Sansanee Jamjod) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. รศ. ดร. ดำเนิน กาละดี (Dumnern Karladee) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ข้าวก่ำหรือข้าวเหนียวดำ (purple rice) นับเป็นพันธุกรรมข้าวอีกชนิดหนึ่งในความหลากหลายทางชีวภาพข้าวไทย ที่ยังคงสภาพเป็นพันธุ์พื้นเมือง (local rice variety) ข้าวพันธุ์พื้นเมืองมักจะมีการตั้งชื่อพันธุ์ตามความพอใจของเกษตรกรหรือผู้ปลูกในแต่ละท้องถิ่น โดยปกติชาวนาหรือเกษตรกรจะตั้งชื่อพันธุ์ตามภาษาถิ่นแตกต่างกันไปตามลักษณะเด่นเช่น รสชาติ กลิ่นและสี หรือตามลักษณะรูปพรรณสัณฐาน (phenotype) และการเจริญเติบโตของข้าว หรือตั้งชื่อตามแหล่งที่พบ สถานที่ที่ปลูกข้าว ซึ่งข้าวเหนียวดำหรือที่เรียกตามภาษาพื้นเมืองของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าข้าวก่ำ ซึ่งอาจมีความหลากหลายทางพันธุกรรมอยู่ แต่ทุกพันธุ์กลับมีชื่อเรียกเหมือนกันคือพันธุ์ข้าวก่ำหรือข้าวเหนียวดำ ดังนั้นหากพันธุ์ข้าวก่ำเหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์เพื่อประเมินลักษณะทางพันธุกรรมทั้งในระดับ phenotype และ DNA ย่อมสามารถบ่งชี้ถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์ของพันธุ์ข้าวก่ำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมจะเป็นประโยชน์และสะดวกรวดเร็วในการค้นหาแหล่งพันธุกรรมเพื่อใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์พืชและช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใหม่ตรงตามความต้องการ

  วัตถุประสงค์
     1. เพื่อใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ microsatellite marker ระบุความแตกต่างทางพันธุกรรมของข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมือง
     2. เพื่อจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมข้าว
     3. เพื่อช่วยในการคัดเลือกในลูกผสมชั่วต่างๆ ในโครงการปรับปรุงพันธุ์

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
1

 1
 1

 1
 1

  3
 3
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

1
1
-

1
1
-

1
1
-

1
1
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 ระบุจำนวนผลงานและประมาณการมูลค่าในวงเล็บ
         5.2 (อื่น ๆ โปรดระบุ)

       


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th