การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวก่ำ ( Development of DNA Markers Related to Antioxidants in Purple Rice)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. อ.ดร. วีณัน บัณฑิตย์ (Weenun Bundithya) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. รศ. ดร. ดำเนิน กาละดี (Dumnern Karladee) ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้แก่ชาวนาซึ่งเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรทั้งประเทศ มีการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยเป็นอาหารหลักประจำชาติ และผลิตเพื่อการส่งออก นำรายได้เข้าประเทศปีละประมาณ 80,000 – 100,000 ล้านบาท (ยุทธศาสตร์ข้าวไทย) ข้าวก่ำเป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่มีการปลูกเพื่อการบริโภคมาเป็นเวลานาน ใช้เป็นอาหารและขนมหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางยาเพื่อรักษาโรค
         ทีมวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการนำของ รองศาสตราจารย์ ดร ดำเนิน กาละดี ได้เริ่มรวบรวมพันธุ์ข้าวก่ำจากแหล่งปลูกข้าวทั่วประเทศ พัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์ปรับปรุงซึ่งได้รับการคุ้มครองพันธุ์จาก กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งดำเนินงานวิจัยด้านโภชนศาสตร์โดยพบว่าข้าวก่ำมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถละลายได้ทั้งในไขมันและในน้ำ คือ แกมมาโอไรซานอลและแอนโธไซยานิน ตามลำดับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบของข้าวก่ำเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน
         ในการศึกษาของหน่วยวิจัยข้าวก่ำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยรองศาสตราจารย์พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ และคณะ พบว่าข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองที่มีพันธุกรรมต่างกัน มีระดับความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกัน โดยมีระดับแกมมาโอไรซานอล 39.83-72.95 มิลลิกรัมต่อข้าวกล้อง 100 กรัม ส่วนแอนโธไซยานินพบ 1.18-16.83 มิลลิกรัมต่อข้าวกล้อง 100 กรัม อย่างไรก็ตาม ข้าวก่ำที่ให้ผลการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก พบว่ามีค่าสูงเฉพาะเพียงสารเดียว ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์ให้ข้าวก่ำมีพันธุกรรมรวม สามารถสังเคราะห์แกมมาโอไรซานอลและแอนโธไซยานิน ให้ได้ปริมาณมากทั้ง 2 ชนิด จะเป็นการเพิ่มคุณค่า และมูลค่าให้กับพันธุ์ข้าว สามารถส่งเสริมการผลิตข้าวก่ำให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น
         การนำเครื่องหมายโมเลกุลมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ ช่วยลดขั้นตอนและลดการใช้ทรัพยากรในงานปรับปรุงพันธุ์พืช การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง 2 ชนิดในข้าวก่ำ จะเป็นเทคนิคสนับสนุนการประเมินพ่อ-แม่พันธุ์ และลูกผสมจากงานพัฒนาพันธุ์ข้าวก่ำเพื่อสารแกมมาโอไรซานอลและแอนโธไซยานินต่อไป

  วัตถุประสงค์
     เพื่อพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับปริมาณ และ/หรือ กิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวก่ำ

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
1

 -
 1

 -
 1

 1
 3
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 เครืองหมายดีเอ็นเอที่พัฒนาได้ นำไปใช้ในงานปรับ ปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวก่ำ

   
2
2


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th