การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 การสร้างพันธุ์ข้าวเจ้าก่ำพันธุกรรมเด่นชนิดใหม่ ( Development of New Elite Non-glutinous Purple Rice Cultivar)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. รศ. ดร. ดำเนิน กาละดี (Dumnern Karladee) สังกัด สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. รศ. ดร. ศันสนีย์ จำจด (Sansanee Jamjod) สังกัด สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. ดร. ปณิตา บุญสิทธิ์ (Panita Boonsit) สังกัด สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ข้าวไทย มีการปรับปรุงคุณภาพในด้านต่างๆเพื่อคุณสมบัติพิเศษในเชิงการค้าโดยเฉพาะในด้านความหอมจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยอมรับอย่างสูงในตลาดการค้าข้าวโลก นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุกรรมและภูมิปัญญาข้าวไทยที่ใด้ถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ทั้งๆที่ยังมีภูมิปัญญาข้าวอื่นๆที่ยังมิได้นำไปปรับปรุงให้ก่อเกิดประโยชน์ในกิจการการค้าข้าวไทยอีกมาก ข้าวก่ำ หรือข้าวเหนียวดำ (purple rice) เป็นพันธุกรรมข้าวอีกชนิดหนึ่งในความหลากหลายทางชีวภาพข้าวไทย ที่ยังคงสภาพเป็นพันธุ์พื้นเมือง (native rice) เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการทำนาของชาวนาไทยมาช้านาน นอกจากนี้ตัวต้นข้าวก่ำเองก็ยังเชื่อว่าสามารถนำไปใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคหลายชนิด คุณลักษณะเด่นพิเศษของข้าวก่ำโดยเฉพาะ รงค์วัตถุสีม่วง (Anthocyanin) มีคุณสมบัติโดยโครงสร้างพื้นฐาน (basic structure) ของ anthocyanins และ anthocyanidins คือ flavonoid ที่มีค่าต่อสุขภาพมนุษย์อันเนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถเป็น antioxidant (Matsuo et al., 1997) และนอกจากนี้สาร Gamma-oryzanol ที่พบในปริมาณสูงกว่าข้าวขาว ก็ยังแสดงคุณสมบัติช่วยลดปริมาณของ cholesterol ใน plasma ลดอันตรายที่เกิดจากโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน (Grunewald and Bailey, 1993; Fry. et.al.,1997) นอกจากนี้ยังช่วยในการเจริญเติบโตของ เซลล์ (cell) ใหม่จึงทำให้มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอีกด้วย (Scavariello and Arellano, 1998) ดังนั้นหากข้าวก่ำไทยนี้ได้มีการนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสากรรมแล้ว เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในศักยะภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์จากข้าวของไทยในตลาดครัวข้าวทั่วโลก หน่วยวิจัยข้าวก่ำ ได้รับอนุมัติจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิจัยเพื่อทำงานวิจัยต่างๆอันเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมข้าวก่ำไทย (Thai purple rice genotypes)
         ในงานวิจัยนี้ได้วางแผนงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นฐานทางพันธุกรรมของลักษณะการเกิดสีม่วง และการสะสมสารอาหารสุขภาพอื่นๆ ในกลุ่มข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองไทยที่รวบรวมได้ที่ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างพันธุกรรมใหม่ ซึ่งผลการทดลองและข้อมูล สามารถนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณ amylose สูง (?12.00%) อยู่ในสภาพแป้งข้าวเจ้า นอกจากนี้ยังอาจพัฒนาพันธุ์ข้าวก่ำเพื่อสาร anthocyanin (cyanidin 3-glucocide) และ gamma oryzanol สูง อีกด้วย อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวก่ำที่มีคุณภาพของโภชนการพิเศษเฉพาะด้านและเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยของสังคมปัจจุบันก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ขึ้นโดยตรงแก่ชาวนา เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจในระบบการทำนาข้าวได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์สุขภาพจากข้าวให้แก่ผู้ประกอบการ อาหารสุขภาพจากธรรมชาติต่อไป

  วัตถุประสงค์

     1. พัฒนาความรู้จากพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพข้าวไทย โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานทางพันธุกรรมข้าวก่ำ เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเกี่ยวเนื่องกับการปลูกข้าวก่ำ จนสามารถใช้เป็นข้อมูลสู่กระบวนการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำไทย และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวก่ำ หรือข้าวชนิดอื่นในด้านอื่นๆต่อไป
     2. วิเคราะห์ปริมาณสารสุขภาพเพิ่มจากข้อมูลเดิมได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (Total phenolic compound, Vitamin E, GABA และ Iron) ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงอันจะนำไปสู่กระบวนการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพ (Functional Rice Food) (หมายเหตุ: ข้อมูลเดิมคือ- รงค์วัตถุสีม่วง (Anthocyanin; cyanidin 3-glucoside), แกมม่าโอไรซานอล (Gamma oryzanol))
     3. พัฒนาข้าวก่ำพันธุ์ปรับปรุงใหม่ (New improved varieties) ที่มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าก่ำ (amylose content ?12.00%)
     4. สร้างประชากรลูกผสมข้าวก่ำเพิ่มอีก เพื่อคัดเลือกข้าวก่ำพันธุ์ใหม่คุณภาพพิเศษ เช่นข้าวเจ้าก่ำไม่ไวแสง และข้าวก่ำคุณภาพพิเศษที่มีปริมาณสารอาหารทั้ง Gamma oryzanol และ Cyanidin 3-glucoside สูง

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 1
2

 1
 2

 -
 2

2
 6
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

1
-
-

1
1
-

-
1
-

2
2
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

-
-
-

2
-
-

2
-
-

4
-
-
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 เกิดการส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวในกลุ่มเกษตรกร สามารถให้ผลผลิตได้ไม่น้อยกว่า 50 ตันต่อปี และ/หรือ มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว จำหน่ายในตลาดอาหารเพื่อสุขาภาพอย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

    2 (1ล้านบาท)

2 (1ล้านบาท)



 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th