การวิเคราะห์ศักยภาพโครงการวิจัย คณะเกษตรฯ
 การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของคณะเกษตรฯ
 การบริหารงานวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
 สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 แหล่งทุนวิจัยอื่น ๆ
 รายงานประจำปี 2546
 รายงานประจำปี 2547
 รายงานประจำปี 2548
 รายงานประจำปี 2549
 รายงานประจำปี 2550
 รายงานประจำปี 2551
 รายงานประจำปี 2552
 รายงานประจำปี 2553
โครงการวิจัยข้าว
 เพิ่มคุณภาพข้าวไทยด้วยการจัดการธาตุอาหาร ( Improving quality of Thai rice with nutrient management)

  ชื่อหัวหน้าโครงการ/ผู้ร่วมวิจัย
     1. ศ.ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม (Benjavan Rerkasem) สังกัด สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     2. ดร. สิทธิชัย ลอดแก้ว (Sithichai Lordkaew) สังกัดศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     3. ดร.ชนากานต์ พรมอุทัย (Chanakan Prom-u-thai) สังกัด สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  หลักการเหตุผล
         ประเทศไทยมีมาตรฐานคุณภาพข้าวสูง ข้าวที่ส่งออกนับว่าอยู่ในตลาดบนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความตื่นตัวด้านสุขภาพ และรายได้ของผู้บริโภคข้าวทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น การผลิตข้าวคุณภาพสูงจึงเป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มผลตอบแทนสู่เกษตรกรจากการทำนา และสู่ประเทศจากการส่งออกข้าว การจัดการธาตุอาหารเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มผลตอบแทนจากการทำนา เพราะธาตุอาหารมีผลต่อผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและในทางคุณภาพ และนอกจากผลต่อคุณภาพทางโภชนาการแล้ว ธาตุอาหารในเมล็ดข้าวยังมีผลต่อคุณภาพการสี (%ต้นข้าว ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาขายได้) การเจริญเติบโตของต้นกล้าที่ปลูกจากเมล็ดนั้นและการสร้างผลผลิตในฤดูต่อไป เนื่องจากภาวะการขาดธาตุเหล็กและธาตุสังกะสีมีผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากของโลก การแก้ปัญหาโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มงานวิจัยที่น่าจะได้ผลคุ้มการลงทุนในลำดับต้นๆ แต่แม้จะได้พบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทยหลายพันธุ์ที่มีธาตุเหล็ก และสังกะสีสูงเป็นพิเศษ และบางพันธุ์มีสารต้านอนุมูลอิสระออกซิเจน (Oxygen radicals) เช่น anthocyanin และ ?-oryzanol แต่ปริมาณธาตุและสารอาหารในเมล็ดข้าวนี้ถูกกำหนดโดย ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยในสภาพแวดล้อม อีกทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างธาตุด้วย นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากคุณภาพทางโภชนาการของเมล็ดข้าวในอีกทางหนึ่งยังขึ้นอยู่กับปริมาณและธาตุ/สารอาหารที่แบ่งปันและสะสมอยู่ในส่วนต่างๆของเมล็ด (จมูกข้าว เยื่อหุ้มเมล็ดที่ถูกขัดสีออกเป็นรำ และข้าวสาร) ที่ถูกแบ่งแยกออกไปในกระบวนการสีข้าว โครงการนี้จึงขอเสนอที่จะทำการศึกษาผลกระทบของธาตุอาหารต่อลักษณะทางคุณภาพของข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่วิธีการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพของข้าวและการเพิ่มผลตอบแทนจากการทำนาและคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภคข้าวต่อไป

  วัตถุประสงค์

     1. บ่งชี้ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารกับคุณภาพข้าว
     2. บ่งชี้ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารมหาธาตุกับจุลธาตุในการกำหนดการสะสมธาตุเหล็กธาตุและสังกะสี ในเมล็ดข้าว
     3. พัฒนาสูตรธาตุอาหารเพิ่มคุณภาพเมล็ดข้าว

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลงาน, ผลผลิต
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
รวม
1. จำนวนผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
         1.1 ระดับนานาชาติ
         1.2 ระดับชาติ

 2
 1

 1
 1

 1
 1

 4
 3
2. จำนวนผลงานสิทธิบัตร
         2.1 ที่ขอยื่นจด
         2.2 ที่ได้รับแล้ว
         2.3 ที่ขออนุญาตใช้สิทธิ์

-
-
-

-
-
-

-
-
-

1
-
-
3. การผลิตบุคลากรวิจัย
         3.1 จำนวนทุนปริญญาโท
         3.2 จำนวนทุนปริญญาเอก
         3.3 จำนวนทุนหลังปริญญาเอก

1
1
1

1
1
1

1
1
1

1
1
1
4. การสร้างเครือข่ายวิจัย
         4.1 จำนวนทุนแลกเปลี่ยน
         4.2 จำนวนทุนเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ
         4.3 จำนวนทุนจัดการประชุมวิชาการ
                (ระดับนานาชาติ, ระดับชาติ)

-
-
-

-
-
-

-
-
-

-
-
-
5. ผลกระทบต่อสังคมและภาคการผลิต
         5.1 ระบุจำนวนผลงานและประมาณการมูลค่าในวงเล็บ
         5.2 (อื่น ๆ โปรดระบุ)
       


 

Copyright © 2004 Division of Research, Academic Services, and International Relations
Agricultural Chiang Mai University All right reserved.
Email : ag_research@chiangmai.ac.th