Free counter
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLOUBI) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนาต่อยอดในการใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจในการร่วมพัฒนาประเทศไทย ทั้งนี้ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดทิศทางการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยใน 4 ทิศทางคือ
1. เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย การจัดการและพัฒนาการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2. เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพและสังคมศาสตร์
3. เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ และความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และ ชุมชนท้องถิ่น
4. เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเป็นแหล่งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ ด้านการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู รวมทั้งสารสนเทศการพาณิชย์ในกลุ่มอนุภูมิภาคน้ำโขง
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ นักวิจัย หน่วยวิจัย คณะ และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 แห่งคือ สถาบันวิจัยสังคม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันมีศูนย์วิจัย 7 ศูนย์ 42 หน่วยวิจัย ประสานเชื่อมโยงกับคณะต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย อาทิ เช่น หน่วยวิจัยฟิสิกส์นิวตรอนและการประยุกต์ใช้สารตัวนำยวดยิ่ง พลังงานสูง หน่วยวิจัยวัตถุดิบยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อการแพทย์แผนไทย หน่วยวิจัยอุณหวิทยา วิเคราะห์ออกแบบระบบการจัดการด้านพลังงาน เป็นต้น
วิสัยทัศน์
1. เสริมสร้างการประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์ งานวิจัยและพัฒนาของอาจารย์ นักวิจัย บัณฑิต นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย
2. ส่งเสริมให้ผู้ประดิษฐ์ นำการประดิษฐ์คิดค้นเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
3. ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลการประดิษฐ์คิดค้นอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
4. สร้างสรรค์ระบบการคุ้มครองสิทธิ์และการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
พันธกิจ
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น และแนวทางการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาแก่คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
2. สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของหน่วยฯ ในการประสานงานหน่วยงานของรัฐในการนำการประดิษฐ์คิดค้นเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
3. เชื่อมโยงหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
4. สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของหน่วยฯ ในการบังคับสิทธิ์และระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดตั้งหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Licensing Office)
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์ ผลงานวิจัยและพัฒนาของอาจารย์ นักวิจัย บัณฑิต นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประดิษฐ์ (อาจารย์ นักวิจัย บัณฑิต นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย นำผลงานวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นจดทะเบียนสิทธิเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
4. เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยการประดิษฐ์คิดค้นอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย
5. เพื่อสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัยในรูปแบบการอนุญาตในการใช้สิทธิ์ (Licensing) เป็นค่า Royalty Fee
6. สร้างระบบการคุ้มครองสิทธิ์และการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ภาพฉายของ TLO
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Technology Licensing Office/University Business Incubator
ชั้น 1 อาคารสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ (053) 210731-2,942459-60 โทรสาร (053) 210733,892189