การควบคุมการพักตัวของเมล็ด

 

 

 

     เมล็ดเมื่อพัฒนาจนแก่เต็มที่แล้ว มักมีการพักตัวครั้งแรก (primary dormancy) เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เมล็ดพืชสามารถอยู่รอดได้โดยไม่เกิดการงอกของเมล็ดทันทีที่ ถูกแยกออกจากต้นจนกระทั่งได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก่อนจึงจะงอกได้

     อย่างไรก็ตามพืชบางชนิดยังมี กลไกการพักตัวครั้งที่สอง (secondary dormancy) เกิดขึ้นด้วยเพื่อช่วยให้เมล็ดอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและเป็น การกำหนดเวลาที่เหมาะสมกับการเติบโตของต้นกล้าได้ การพักตัวของเมล็ด จึงเกิดขึ้นจากปัจจัยภายในของเมล็ดที่ยังไม่พร้อมต่อการงอก ซึ่งมีสาเหตุต่างๆ กัน

 

   
   

      1. การพักตัวเนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat dormancy) พบได้ กับพืชที่มีเปลือกหนาและแข็ง หรือเมล็ดที่มีเปลือกเป็นมัน ไม่ยอมให้น้ำซึม ผ่านเข้าไปได้ง่าย และอาจทำให้ต้นกล้าเจริญผ่านเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาไม่ได้ จนกว่าส่วนของเปลือกจะอ่อนตัวลงตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานใน การงอก เช่น พุทรา มะกอกน้ำ บ๊วย พีช

 

 
 
 
 
 
       2. การพักตัวเนื่องจากสารเคมี (chemical dormancy) เกิดจากสารเคมีที่สะสมอยู่ในผลและเนื้อเยื่อของเปลือกเมล็ด ทำหน้าที่เป็นสารยับยั้งการงอก เช่น ส้ม มะละกอ มะเขือเทศ แตงกวา    

      3. การพักตัวทางสัณฐานวิทยา (morphological dormancy) พบได้ในเมล็ดที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่เมื่อแยกจากต้น ต้องใช้ระยะเวลา ต่ออีกระยะหนึ่งจึงจะสามารถพัฒนาได้เต็มที่ เช่น โสม ปาล์ม น้อยหน่า

 
   
 

     4. การพักตัวทางสรีรวิทยา (physiological dormancy) มักพบในพืชที่ต้องการสภาพแวดล้อมพิเศษสำหรับการงอกมาก กว่าเมล็ดที่ไม่มีการพักตัว จึงตอบสนองต่อการปฏิบัติบางอย่าง ได้แก่ การให้ความเย็นจัด การให้อุณหภูมิสลับ การให้ช่วงแสง ต่อการงอก เช่น ผักกาดหอม

 

   

     5. การพักตัวอย่างปานกลาง (intermediate dormancy) พืชพวกนี้ต้องการปัจจัยบางอย่างมากระตุ้นการงอกของเมล็ด ให้เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ถ้าไม่ได้รับเมล็ดก็งอกได้เอง เช่น สน ต้องการอุณหภูมิเย็นจัดช่วยให้การงอกเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

 
   
 
 
 
 
 

      6. การพักตัวของคัพภะ (embryo dormancy) พบมากในเมล็ดของไม้ยืน ต้นในเขตหนาว ซึ่งเมล็ดมีการพัฒนาจนแก่เต็มที่ในฤดูใบไม้ร่วงและร่วงหล่น อยู่ในดินตลอดช่วงฤดูหนาวก่อนจะงอกเป็นต้นได้ในฤดูใบไม้ผลิ เมล็ดของพืช พวกนี้บางชนิดจะพบว่ามีเปลือกหุ้มเมล็ดที่หนาด้วย เช่น พีช แอปเปิล พลัม  สาลี่  พลับ

   
        7. การพักตัวของเอพิคอทีล (epicotyl dormancy) เมล็ดพวกนี้ต้องการ สภาพแวดล้อมสำหรับกระตุ้นการเติบโตของepicotyl ระยะหนึ่งด้วยจึง จะงอกได้ เช่น ลิลี่ โบตั๋น